
E-Portfolio
Warunya Angie Boonma
สรุปองค์ประกอบความรู้ภาษาต่างประเทศ
การยืมคำจากภาษาบาลีและสันสกฤต คำยืมจากภาษาบาลีและสันสกฤตที่นำมาใช้ในภาษาไทย สามารถแบ่งเป็นประเภทได้ดังต่อไปนี้
1.ใช้เป็นราชาศัพท์ ราชาศัพท์ที่สร้างจากคำบาลีสันสกฤตมีมาก เช่น พระบรมราโชวาท พระราชเสาวนีย์ ในทางปฏิบัติ คำว่าราชาศัพท์หมายรวมถึงคำที่คฤหัสถ์ใช้กับพระสงฆ์และพระสงฆ์ใช้ในหมู่พระสงฆ์กันเองด้วย เช่น อาพาธ มรณภาพ นมัสการ อีกทั้งยังหมายรวมถึงคำภาษาแบบแผนและคำสุภาพทั่ว ๆ ไปซึ่งใช้กับข้าราชการและสุภาพชนอีกด้วย (ราชบัณฑิตยสถาน. , 2546 , หน้า 952) แต่จะแยกกล่าวในข้อต่อ ๆ ไป
2.ใช้เป็นศัพท์เฉพาะทางศาสนา ศัพท์เฉพาะเหล่านี้นิยมสร้างหรือยืมจากบาลีสันสกฤตเช่นกัน เช่น นิวรณ์ มุสาวาท โผฏฐัพพะ อิทธิบาท เวทนา
3.ใช้ในทางวรรณคดี ซึ่งใช้เฉพาะในร้อยกรอง โดยปรกติการเปลี่ยนแปลงเสียงของคำมักเป็นไปเพื่อความเหมาะสมกับบทประพันธ์ ที่เรียกว่า การกลายเสียงโดยเจตนาด้วย เช่น เวหน สุริยง เกศา มยุเรศ มาลี ราษตรี
4.ใช้ในภาษามาตรฐานหรือใช้เป็นคำสุภาพ ใช้ทั้งในภาษาพูดและภาษาเขียน เช่น บิดา มารดา สามี ภริยา ภรรยา บุตร ธิดา ประสงค์ นาม
5.ใช้เป็นศัพท์บัญญัติ หรือศัพท์เฉพาะทางวิชาการ แต่บางทีก็อาจมีการหาคำใหม่ที่ยังไม่เคยใช้ในภาษาไทยมาใช้ก็ได้ เช่น เจตคติ นันทนาการ บรรยเวกษ์
6.ใช้เป็นคำสามัญ คือคำภาษาพูดที่ใช้สนทนาทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น อายุ เศรษฐี โรค ปัญหา ภาษา ชาติ ประเทศ สัตว์ หิมะ เวลา อาหาร
7.ใช้เป็นชื่อเฉพาะ ชื่อวัน เดือน ดวงดาวและกลุ่มดาวบนท้องฟ้า เทพเจ้าทั้งชายและหญิง ตลอดจนชื่อบุคคลในประวัติศาสตร์ ตำนาน และเทพนิยายต่าง ๆ ชื่อสถานที่และอื่น ๆ เช่น ชื่อจังหวัด อำเภอ แม่น้ำ และภูเขา เป็นต้น
การสังเกตคำบาลีและสันสกฤต
ภาษาบาลี
ภาษาสันสกฤต
-
ใช้สระ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ เช่น อริยะ สาระ อิสี อุตุ เสล โมลี
-
ใช้สระอะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ และเพิ่ม ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ ไอ เอา เช่น ฤษี ฤดู กฤษณ์
-
ใช้ ส เช่น สาสนา ลิสสะ สันติ วิสาสะ สาลา สิริ สีสะ
-
ใช้ ศ ษ เช่น ศาสนา ศิษย์ ศานติ พิศวาส ศาลา ศีรษะ
-
ใช้พยัญชนะสะกดและตัวตามตัวเดียวกัน เช่น ธัมม กัมม มัคค สัคค สัพพ วัณณ
-
ใช้ตัว รร แทน ร ( ร เรผะ) เช่น ธรรม กรรม มรรคสวรรค์ สรรพ วรรณ
-
ใช้พยัญชนะเรียงพยางค์ เช่น กริยา สามี ฐาน ถาวร ปทุม เปม ปิยะ ปฐม ปชา
-
ใช้อักษรควบกลํ้ า เช่น กริยา สวามี สถาน สถาวร ปัทมะ เปรม ปรียะ
-
ใช้ ฬ เช่น จุฬา กีฬา บีฬ ครุฬ
-
ใช้ ฑ เช่น จุฑา กรีฑา บีฑา ครุฑ
-
มีหลักตัวสะกดตัวตามที่แน่นอน
-
ไม่มีหลักตัวสะกดตัวตาม
การยืมคำจากภาษาเขมร คำยืมจากภาษาเขมรที่นำมาใช้ในภาษาไทย มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
-
ส่วนมากมักใช้เป็นคําราชาศัพท์ เช่น เสวย เขนย ถวาย ขนง โปรด ตรัส เสด็จ ดําเนิน ทรงผนวช ประชวร บรรทม ธํามรงค์ ประทับ เพลา กันแสง สรง ฯลฯ
-
คําเขมรที่ใช้ในคําสามัญทั่วไป เช่น กระบือ กระบาล โตนด โขมด จมูก เสนียด เพนียด ตํ าบล ถนน จังหวัด ทําเนียบ ลําเนา ชุมนุม ชมรม ฯลฯ
-
คําเขมรที่เป็นคําโดดคล้ายกับภาษาไทย จนเราเองลืมไป คิดว่าเป็นคําไทย แต่มีที่สังเกตได้ว่าเป็นคำ เขมระต้องแปลความหมายก่อนจึงจะเข้าใจ เช่น แข - ดวงจันทร์ บาย- ข้าว เมิล- มอง ศก- ผม ฯลฯ
ข้อสังเกตคำที่มาจากภาษเขมร
1. มักสะกดด้วยพยัญชนะ จ ญ ร ล ส เช่น
2. เป็นศัพท์พยางค์เดียวที่ต้องแปลความหมาย
3. เป็นศัพท์ที่ใช้พยัญชนะควบกลํ้า อักษรนำ
4. มักแผลงคำได้
การยืมคำจากภาษาจีน
ส่วนใหญ่ภาษาจีนที่ไทยนำมาใช้มักจะเป็นชื่ออาหาร รองลงไปก็เป็นชื่อที่ใช้ในการค้า ชื่อคน ภาษาจีนจัดเป็นภาษาคำโดดเช่นเดียวกับภาษาไทย นั่นคือคำส่วนมากมักเป็นพยางค์เดียว การเรียงลําดับในประโยคมักขึ้นต้นด้วยประธาน ตามด้วยกริยาและกรรม มีลักษณนาม มีเสียงวรรณยุกต์ คําคําเดียวมีหลายความหมาย และมีการใช้คำซ้ำเหมือนกัน ต่างกันแต่วิธีขยายคำหรือข้อความ เพราะว่าภาษาไทยให้ขยายอยู่หลังคําที่ถูกขยาย แต่ภาษาจีนให้คําขยายอยู่หน้าคําที่ถูกขยาย การใช้คําภาษาจีนในภาษาไทย จีนใช้ภาษาหลายภาษา แต่ที่เข้ามาปะปนภาษาไทยมากที่สุดคือ ภาษาจีนแต้จิ๋ว ซึ่งเป็นภาษาถิ่นของคนจีนแถบซัวเถา คำที่รับมาใช้ส่วนใหญ่เกี่ยวกับอาหารการกิน คำที่ใช้ ในวงการค้าและธุรกิจ และคําที่ใช้ในชีวิตประจําวันบ่อยๆ ภาษาจีนมีลักษณะคล้ายคลึงกับภาษาไทยมาก คือ เป็นภาษาคำโดดมีเสียงวรรณยุกต์ยเมื่อนำคำภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทยซึ่งมีวรรณยุกต์และสระประสมใช้จึงทำให้สามารถออกเสียงวรรณยุกต์และสระตามภาษาจีนได้อย่างง่ายดายคำภาษาจีนยังมีคำที่บอกเพศในตัวเช่นเดียวกับภาษาไทยอีกด้วย เช่น เฮีย (พี่ชาย) ซ้อ (พี่สะใภ้) เจ๊ (พี่สาว)นอกจากนี้การสะกดคำภาษาจีนในภาษาไทยยังใช้ตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดทั้ง 8 มาตราและมีการใช้ทัณฑฆาต หรือตัวการันต์ด้วย
หลักการสังเกตคำภาษาไทยที่มาจากภาษาจีน
1.นำมาเป็นชื่ออาหารการกิน เช่น ก๋วยเตี๋ยว เต้าทึง แป๊ะซะ เฉาก๊วย จับฉ่าย เป็นต้น
2.เป็นคำที่เกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ที่เรารับมาจากชาวจีน เช่น ตะหลิว ตึก เก้าอี้ เก๋ง ฮวงซุ้ย
3.เป็นคำที่เกี่ยวกับการค้าและการจัดระบบทางการค้า เช่น เจ๋ง บ๋วย หุ้น ห้าง โสหุ้ย เป็นต้น
4.เป็นคำที่ใช้วรรณยุกต์ตรี จัตวา เป็นส่วนมาก เช่น ก๋วยจั๊บ กุ๊ย เก๊ เก๊ก ก๋ง ตุ๋น เป็นต้น